วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ครั้งที่ 5




บันทึกการเรียน

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 11.30 - 14.30 

ความรู้ที่ได้รับ

เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนเคลื่อนไหวแผนการ

สอนของวันจันทร์โดยแต่ละกลุ่มมีข้อปฏิบัติต่างๆตามแผนที่เขียน

การจะจัดเรื่องที่จะสอน ต้องทำแตกเป็นมายแมปเพื่อให้เด็กรู้ว่าจะ

ต้องเรียนอะไรบ้าง เช่น

หน่วยนม 

-นมมีลักษณะอย่างไร

-นมมีที่มาอย่างไร

-ประโยชน์

-โทษ

คุณครูตั้งคำถาม เชิงวิทยาศาสตร์

ตัวอย่าง

ปัญหาคือ เราจะทำอย่างไรให้นมกลายเป็นไอศกรีม

สมมุติฐาน คิดว่าถ้าหากเอานมเข้าตู้เย็นในช่องฟีสจะทำให้แข็ง

ทดลอง โดยการเอาเกลือใส่ในน้ำแข็งและเอานมใส่เเล้วเขย่าไป

เรื่อยๆจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้

นมกลายเป็นน้ำแข็งจนทำให้น้ำแข็งจนทำให้น้ำแข็งถึงจุดเยือกแข็ง

และกลายเป็นไอศกรีม จึงสรุปได้ว่า การทดลองเป็นไปตาม

สมมุติฐานที่ตั้งไว้

กิจกรรม
แผนการจัดประสบการณ์ชั้น อนุบาล 2 หน่วยไข่ เรื่องลักษณะของไข่  กิจการรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ 

ภาพกิจกรรม



อ้างอิงภาพจาก นางสาวจันทร์จิรา นามวิชา

ประเมินผู้สอน : สอนเข้าใจเเละสนุกสนาน ผู้สอนแต่งกายสุภาพ


ประเมินเพื่อน : ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง: มาทันเวลามีสมาธิในการเรียน




ครั้งที่ 4




บันทึกการเรียน
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 11.30 - 14.30



ความรู้ที่ได้รับ
   
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ที่มาของหน่วย
มาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยคือ สาระที่ควรเรียนรู้ได้แก่ 
  1.   เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
  2.   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
  3.   ธรรมชาติรอบตัว
  4.  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2. ทำ Mind Mapping 
แสดงในสิ่งที่เด็กควรรู้ในหน่วยนั้น เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก 
3. ออกแบบการจัดประสบการณ์
  • ยึดหลักของทฤษฎีทางร่างกาย เช่น ทฤษฎีพัฒนาการของ เพียเจย์

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  1. วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก
  2. สาระที่ควรเรียนรู้ คือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้
  3. แนวคิด คือ คอนเซปของเรื่อง ที่จะสอน ตัวอย่างเช่น กระบวนทางวิทยศาสตร์ 
  4. ประสบการณ์สำคัญ คือ มาจากหลักสุตร เป็นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  5. รายวิชา (การบูรณาการ)
  6. แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม 

เทคนิคการจัดประสบการณ์ หน่วย ไข่ 
  • ร้องเพลง (เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน)
  • ถามเด็กว่าในเพลงมีไข่อะไรบ้าง
  • ครูเขียนบันทึกและถามเด็กว่า นอกจากไข่ที่อยู่ในเพลงแล้ว เด็กๆยังรู้จักใครอะไรอีกบ้าง 
  • นำตะกร้าใส่ไขามาให้เด็กดุ โดยนำผ้ามาคลุมไว้และถามเด้กว่า ในตะกร้าที่คุณครูนำมามีอะไรอยู่ในนี้ 
  • ถามเด็กว่าเด็กๆคิดว่า มีไข่ในตะกร้าประมาณกี่ฟอง (เด็กจะเกิดการคาดคะเนจากลักษณะและขนาดของตะกร้า)
  • นำไข่ออกมานับโดยเรียงให้เด็กเห็นชัดเจน หลังจากที่นับแล้วให้เด็กบอกจำนวน แล้วเขียนกำกับจำนวนตัวเลขฮินดูอารบิกแทนค่าจำนวนที่นับได้ 
  • จัดกลุ่มประเภทของไข่ (ไข่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่) จากนั้นให้นับจำนวนไข่ไก่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่ 
  • ให้เด็กเปรียบเทียบ (เด็กจะตอบตายมที่ตาเห็น อยู่ในขั้นอนุรักษ์ )โดยให้เด็กจับคู่ 1 ต่อ 1 ออกทีลยะคู่ ถ้าไข่ไก่ยังเหลือแสดงว่าไข่ไก่มีจำนวนมากกว่าไข่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่




การทดสอบการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หน่วยไข่ เรื่อง ประเภทของไข่ (วันจันทร์)

  • การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  • การฟังและปฎิบัติตามคำสั่งหรือข้อตกลง
  • การฝึกความจำ
หน่วยดิน เรื่อง ประเภทของดิน(วันจันทร์)
  • การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • ผู้นำผุ้ตาม



  • หน่วยนม เรื่อง ประเภทของนม(วันจันทร์)
    • การเคลื่อนไหวคามจังหวะและสัญญาณ
    • การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์

    ประเมินผู้สอน : คุณครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ

    ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
    ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะเรียน มาทันเวลา 

    ครั้งที่ 3




    บันทึกการเรียน

    วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 256 เวลา 11.30 - 14.30 


    ความรู้ที่ได้รับ 
    ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย

    การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และ ความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม
    หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
    การจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ ยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย  ดังนี้
    การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม  การพัฒนาหลักสูตรพิจารณาจากวัยและประสบการณ์ของเด็ก   โดยเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์เดิมที่เด็กมีอยู่ และประสบการณ์ใหม่ที่เด็กจะได้รับต้องมีความหมายกับตัวเด็ก เป็นหลักสูตรที่ให้โอกาสทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาส และเด็กพิเศษได้พัฒนา รวมทั้งยอมรับในวัฒนธรรมและภาษาของเด็ก พัฒนาเด็กให้รู้สึกเป็นสุขในปัจจุบัน มิใช่เพียงเพื่อเตรียมเด็กสำหรับอนาคตข้างหน้าเท่านั้น
    การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะต้องอยู่ในสภาพที่สนองความต้องการ ความสนใจของเด็กทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน  ผู้สอนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กได้อยู่ในที่ที่สะอาด ปลอดภัย  อากาศสดชื่น  ผ่อนคลาย        ไม่เครียด  มีโอกาสออกกำลังกายและพักผ่อน  มีสื่อวัสดุอุปกรณ์ มีของเล่นที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัย   ให้เด็กมีโอกาสได้เลือกเล่น  เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกที่เด็กอยู่  รวมทั้งพัฒนาการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม ดังนั้น สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนจึงเป็นเสมือนหนึ่งสังคมที่มีคุณค่าสำหรับเด็กแต่ละคนจะเรียนรู้และสะท้อนให้เห็นว่าบุคคลในสังคมเห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษากับเด็กปฐมวัย 
    .  การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  ผู้สอนมีความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กอย่างมาก ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้หรือสั่งให้เด็กทำมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก  ในการจัดสภาพแวดล้อมประสบการณ์และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ผู้สอนและเด็กมีส่วนที่จะริเริ่มทั้ง  ๒  ฝ่าย โดยผู้สอนจะเป็น       ผู้สนับสนุน ชี้แนะ และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ส่วนเด็กเป็นผู้ลงมือกระทำ เรียนรู้ และค้นพบด้วยตนเอง   ดังนั้น  ผู้สอนจะต้องยอมรับ  เห็นคุณค่า รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคนที่ตนดูแลรับผิดชอบก่อน  เพื่อจะได้วางแผน สร้างสภาพแวดล้อม และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ผู้สอนต้องรู้จักพัฒนาตนเอง  ปรับปรุงใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมต่างๆให้เหมาะกับเด็ก
    การบูรณาการการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยยึดหลักการ บูรณาการที่ว่า หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ ดังนั้น เป็นหน้าที่ของผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละวันให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลายกิจกรรม หลากหลายทักษะ  หลากหลายประสบการณ์สำคัญ อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ เพื่อให้บรรลุจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดไว้

    .  การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การประเมินเด็กระดับปฐมวัยยึดวิธี       การสังเกตเป็นส่วนใหญ่  ผู้สอนจะต้องสังเกตและประเมินทั้งการสอนของตนและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กว่าได้บรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการ จากข้อมูลเชิงบรรยาย จากการรวบรวมผลงาน การแสดงออกในสภาพที่เป็นจริง   ข้อมูลจากครอบครัวของเด็ก  ตลอดจนการที่เด็กประเมินตนเองหรือผลงาน สามารถบอกได้ว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด  ข้อมูลจากการประเมินพัฒนาการจะช่วยผู้สอนในการ        วางแผนการจัดกิจกรรม  ชี้ให้เห็นความต้องการพิเศษของเด็กแต่ละคน ใช้เป็นข้อมูลในการสื่อสารกับพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก  และขณะเดียวกันยังใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้กับเด็กในวัยนี้ได้อีกด้วย

    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เด็กเจริญเติบโตขึ้นมา  ผู้สอน  พ่อแม่  และผู้ปกครองของเด็กจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ทำความเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  ต้องยอมรับและร่วมมือกันรับผิดชอบ  หรือถือเป็นหุ้นส่วนที่จะต้องช่วยกันพัฒนาเด็กให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน  ดังนั้น  ผู้สอนจึงมิใช่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก      เท่านั้น  แต่จะต้องให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย ทั้งนี้ มิได้หมายความให้        พ่อแม่  ผู้ปกครองเป็นผู้กำหนดเนื้อหาหลักสูตรตามความต้องการ โดยไม่คำนึงถึงหลักการจัดที่เหมาะสมกับวัยเด็ก
    จุดหมาย
                   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถ และความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เมื่อเด็กจบการศึกษาระดับปฐมวัย เด็กจะบรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในจุดหมาย 12 ข้อ และในแต่ละช่วงอายุผู้สอนจะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จะครอบคลุมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา  ดังนี้
    1.  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย  และมีสุขนิสัยที่ดี
    2.  กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง  ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
    3.  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
    4.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
    5.  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  การเคลื่อนไหว  และรักการออกกำลังกาย
    6.  ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
    7.  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  และความเป็นไทย
    8.  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยอันมี  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    9.  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
    10. มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
    11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
    12. 
    มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีทักษะในการแสวงหาความรู้

    กิจกรรม
    ให้นักศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คิดหัวข้อในการสอนมากลุ่มละ 1 หน่วย
    หน่วย นม

    หน่วย ไข่

    อ้างอิงรูปภาพจาก นางสาว จันทร์จิรา นามวิชา
    ประเมินผู้สอน : คุณครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ

    ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน

    ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะเรียน มาทันเวลา 


    ครั้งที่ 2






    บันทึกการเรียน

    วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 11.30 - 14.30 



    ความรู้ที่ได้รับ 

    คุณครู สอนเทคนิคการร้องเพลงสงบเด็กจากโรงเรียนที่เพื่อนได้ไปสังเกตมา เช่น


    เพลง โปเล โปลา 

    โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา
    เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล
    ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
    ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับ

    เพงเเมงมุมลาย

    แมงมุมลายตัวนั้น
    ฉันเห็นมันสงสารเหลือทน
    วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
    พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา
    มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว


    เพลงจับปูดำ
    จับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล
    สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล ชะโอละเห่ นอนเปลเลยหลับไป

    เอามือวางไว้บนตัก
    ช่างน่ารัก น่ารักจริง ๆ
    เด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน
    พวกเราทุกคน.ไม่ใช่ลูกลิง

    มดแดง กัดแข้งกัดขา
    กัดเสื้อ กัดผ้า ตุ๊งแฉ่ง ตุ๊กแฉ่ง

    เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
    คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
    ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู

    เทคนิคการจัดเด็กเป็นครึ่งวงกลม

    โดยให้เด็กแบ่งจำนวนแถวเท่าๆ


    เก่าและให้เเถวด้าข้างสองฝั่งอยู่กับที่แล้วให้แถวถัดมาเดิน


    มาจับมือเเถวด้านข้าง จนกลายเป็นวงกลม


    การประยุคเพลงที่มีอยุ่ให้เป้นเพลงใหม่ เช่น 


    ทำนองเพลงนิ้วมืออยู่ไหน เพลงนิ้วมืออยู่ไหน


     เด็กหญิงอยู่ไหน เด็กหญิงอยู่ไหน อยู่นี่คะ  อยู่นี่คะ สุขสบายดีหรือ


    ไร สุขสบายทั้งกายและใจ ไปก่อนละสวัสดี


     เด็กชายงอยู่ไหน เด็กชายอยู่ไหน อยู่นี่ครับ อยู่นี่ครับ สุขสบายดี


    หรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ ไปก่อนละสวัสดี




    ประเมินผู้สอน : คุณครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ

    ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
    ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะเรียน มาทันเวลา 



    ครั้งที่ 1



    บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

    วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 11.30 - 14.30


    ความรู้ที่ได้รับ 

    พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน เป็นลำดับขั้น
    ตอนอย่างต่อเนื่อง โดยมีช่วงอายุเป็นตัวกำกับ
    สมองทำงานเหมือนฟองน้ำ ทำงานดดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการ
    ลงมือกระทำ  
    สมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสยังทำงาน
    อยู่ตลอดเวลา
    การรู้พัฒนาการ เพื่อที่เราจะได้จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับ
    พัฒนาการ และยังใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผล
    วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือ
    กระทำ การเล่น ความสนใจเกิดจากพัฒนาการ

    ประเมินผู้สอน : คุณครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจ
    ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน
    ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะเรียน มาทันเวลา